จากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาการด้านพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ จึงทําให้ มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้จัดตั้งสถาบันภาษามหาจุฬาฯ ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยพระโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดีได้เน้นถึงจุดยืนในประเด็นนี้ว่า
“ภารกิจของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมมี่สําคัญที่มหาวิทยาลัยได้ว่าเนินการมา นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องใน วันวิสาขบูชาโลก ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุม ๓ ปี กระทั่งชาวพุทธทั่วโลกมีมติให้พุทธมณฑล เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก ผลของการจัดกิจกรรมนี้ทําให้รู้ว่ามหาวิทยาลัยขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านภาษา ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้ตั้งสถาบันภาษาขึ้น เพื่อรองรับการ เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก ของไทย ต่างให้ความสนใจส่งบุคลากรเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยมากขึ้น”
ในฐานะผู้อ่านวยการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมทั้ง คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ประจําสถาบันภาษา มีความมุ่งมั่น และสํานึกรับผิดชอบต่อภารกิจที่ จะที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ที่จะพัฒนาสถาบันภาษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่าง แท้จริง เพื่อให้ผู้สนใจได้ใช้สถาบันภาษาเป็น “สวนแห่งปัญญา” (WizPark) ในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษา
นอกจากนี้ สถาบันภาษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะทุ่มเทที่จะพัฒนา หลักสูตรการเรียนการสอน และการบริหารให้มีประสิทธิภาพ ร่วมมือกับสถาบันภาษาทั้งในและ ต่างประเทศ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องม็อบูรณาการองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของ ผู้เรียนให้ก้าวไปสู่ชีวิตที่ดีงาม และสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ที่ว่า “สถาบันภาษาชั้นนําเพื่อการพัฒนาชีวิตที่ดีงาม” อย่างแท้จริง ตลอดไป
