กาลานุกรมสถาบันภาษา

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง การจัดตั้งสถาบันภาษา ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๙ หน้า ๖๐ ตอนพิเศษ ๑๕๔ ง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ โดยมีสถานะเป็นส่วนงานสนับสนุนการศึกษาและเทียบเท่าคณะ เริ่มแรกได้แบ่งการบริหารออกเป็น ๒ ส่วนงาน คือ ๑. ส่วนบริหารงานและแผน ๒.ส่วนการสอนและพัฒนา ตามประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง การแบ่งส่วนงานของสถาบันภาษา ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๐ หน้า ๖๑ ตอนพิเศษ ๗๔ ง  ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖  ต่อมาได้มีประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๐ หน้า ๓๔ ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ ได้ปรับชื่อส่วนงานภายในสถาบันภาษาใหม่เป็น ๒ ส่วนงาน คือ ๑.ส่วนงานบริหาร และ ๒. ส่วนวิชาการ โดยมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ดังนี้

อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของสถาบันภาษา

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่และบทบาทความรับผิดชอบ ตามตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง ภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังนี้

                สถาบันภาษา “มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและบริการด้านภาษาต่างประเทศแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านภาษาและวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติ ระดับอาเซียน และระดับนานาชาติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย”

                ๑. ส่วนงานบริหาร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหาร และงานสารนิเทศของสถาบัน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ (๑) กลุ่มงานบริหาร ปฏิบัติงานด้านธุรการ ประสานงานด้านงบประมาณ การเงินการบัญชี พัสดุ นโยบายและแผนพัฒนา ประสานงานกับส่วนงาน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย (๒) กลุ่มงานวางแผนวิจัยและพัฒนา ปฏิบัติงานด้านนโยบายและแผน การประกันคุณภาพ การจัดการความรู้ การบริหารความเสี่ยง การวิจัยและพัฒนาสถาบัน และกิจกรรมภายในสถาบันภาษาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัย และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                ๒. ส่วนวิชาการ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรด้านภาษา งานบริการวิชาการของสถาบัน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ (๑) กลุ่มงานจัดการศึกษา ปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดทำตำราหลักสูตร พัฒนาสื่อการเรียนการสอนรวมทั้งประสานงานการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาของคณะ วิทยาเขต วิทยาลัย หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒) กลุ่มงานบริการวิชาการ ปฏิบัติงานด้านบริการวิชาการด้านภาษาในหลักสูตรวุฒิบัตรภาษาต่างประเทศ งานการเขียนบทความวิชาการ งานการบริการการแปลภาษาต่างประเทศ งานการจัดทดสอบภาษาต่างประเทศ งานการให้บริการห้องสมุดและสื่อการเรียนการสอนด้านภาษา และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


ประวัติความเป็นมา

ยุคริเริ่มก่อตั้ง

                วันศุกร์ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ,ผศ,ดร.[1] รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ  ได้เสนอเรื่องขออนุมัติโครงการตั้งศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (MCU-LC) ต่อสภาวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๐ ณ ห้องประชุม ๒๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามที่กองวิชาการ สํานักงานอธิการบดี ได้มีหนังสือที่ ศธ ๖๑๐๐.๒/๙๒๐ ลงวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เสนอมหาวิทยาลัย ซึ่งที่ประชุมในครั้งนั้นพิจารณาแล้ว มีมติให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน

                วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร. (พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร.).รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ ได้เสนอโครงการสอนภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (MCU-LI) ต่อสภาวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ ณ ห้องประชุม ๔๐๑ ชั้น ๔ อาคารสํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามที่กองวิชาการได้มี หนังสื่อ ที่ ศธ ๖๑๐๐.๒/๒๑๐ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เสนอมหาวิทยาลัย ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมตินําโครงการดังกล่าวไปพิจารณาและปรับปรุงโครงการให้มีความกระชับและรัดกุมมากยิ่งขึ้น ต่อมาวันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.(พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร.) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ ได้เสนอโครงการสอนภาษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (MCU-LI) ต่อสภาวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ ณ ห้องประชุม ชั้น ๔ อาคารสํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามที่กองวิชาการได้มีหนังสือ ที่ ศธ ๖๑๐๐.๒/๔๔๘ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เสนอต่อมหาวิทยาลัยฯ ที่ประชุมพิจารณาแล้วได้ให้ข้อสังเกตว่า “คณะทํางานได้ดําเนินการมาในทิศทางที่สอดรับกับนโยบายของมหาวิทยาลัย แต่ควรปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ แล้วนำเสนอสภาวิชาการให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น” จากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ ได้เสนอสภาวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ครั้งที่ ๕/๒๕๕๒ อีกครั้งมีสาระสำคัญความว่า “ตามที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายสอนภาษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านภาษาต่างประเทศของบุคลากร นิสิต และบุคคลทั่วไป เป็นการเตรียมบุคลากร ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้มีความรู้ความสามารถ และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นการเตรียมการให้องค์กรพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ฉะนั้น จึงเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (LIMCU)” ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งสถาบันภาษาตามที่เสนอ

 ยุคได้รับอนุมัติให้ตั้งส่วนงาน

                เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร. อธิการบดี[2]  ได้เป็นประธานในการเปิดสถาบันภาษาอย่างเป็นทางการ โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมวิสาขบูชาโลก และคณะกรรมการบริหารสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ จํานวน ๔๓ รูป/คน จาก ๓๐ ประเทศ และผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตและบุคคลทั่วไปเข้าร่วมพิธีเปิดประมาณ ๕๐๐ รูป/คน โดยมีนายแพทย์รัศมี คุณหญิงสมปอง วรรณิสร เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ซึ่งในพิธีเปิดครั้งนี้ สถาบันภาษาได้มอบทุนการศึกษาแก่ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต และนักเรียนในพื้นที่อําเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวน ๓๐ ทุน และวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยฯ ได้มีคำสั่งที่ ๑๖๖/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ แต่งตั้งคณะกรรมการการบริหารสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยชุดแรก โดยมีพระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร. เป็นประธานกรรมการบริหาร และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร.[3] เป็นกรรมการและเลขานุการ และมหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งที่ ๑๖๗/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนสถาบันภาษา เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุประสงค์ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ โดยมีพระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร. (พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร.). เป็นประธานกรรมการ และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร. (พระเมธีวัชรบัณฑิต,ศ.ดร.) เป็นกรรมการและเลขานุการ

การแต่งตั้งผู้บริหารสถาบันภาษา

                ๑. วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัย ได้มีคําสั่งที่ ๐๗๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ แต่งตั้งพระมหาหรรษา ฉายา ธมฺมหาโส นามสกุล นิธิบุณยากร วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ.(ปรัชญา), ศศ.ม. (พุทธศาสนศึกษา), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา) ตําแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการสถาบันภาษา วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ มีคำสั่งที่ ๖๔๘/๒๕๕๕ มีแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษา และต่อมามหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันภาษา รูปแรก

                จากนั้นวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ พระมหาราชัน ฉายา จิตฺตปาโล ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนบริหารและแผน และหลังจากมีการเปลี่ยนชื่อส่วนงานจากส่วนงานบริหารงานและแผน เป็นส่วนงานบริหาร มหาวิทยาลัยจึงมีคำสั่งที่ ๖๔๘/๒๕๕๗ ลงวันที่
๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา และมีคำสั่งที่ ๑๑๑/๒๕๕๘
ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองผู้อำนวยการสถาบันภาษา และต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น รองผู้อำนวยการสถาบันภาษา ตามลำดับ

                และมีคำสั่งที่ ๑๙๕/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘ แต่งตั้งให้พระวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป ส่วนวิชาการ สถาบันภาษา ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา และมีคำสั่งที่ ๑๓๑/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา และมีคำสั่งที่ ๑๓๑/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา รวมถึงมีคำสั่งที่ ๔๐/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ แต่งตั้งให้ ดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ วิทยฐานะ ป.ธ.๓, น.ธ.เอก, ป.วค., ป.ออ. พธ.บ.(ศาสนา), พธ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์), พธ.ด. (รัฐประศาสศาสตร์) ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป ส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา ให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองผู้อำนวยการสถาบันภาษา และต่อม มีการเสนอมหาวิทยาลัยให้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งบริหารภายในสถาบันภาษา ดังนี้

                ๑) ให้ ดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ จากตำแหน่ง รักษาการรองผู้อำนวยการสถาบันภาษา เป็น รักษาการผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา
                ๒) ให้พระวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ จากตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา เป็น
รองผู้อำนวยการสถาบันภาษา
                ๓) แต่งตั้งให้พระมหาเจริญทรัพย์ ธนวุฑฺธเมธี นามสกุล ชีแพง ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป ส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา

                ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เมื่อพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ ทำให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษา ว่างลง

๒. มหาวิทยาลัยจึงแต่งตั้งให้ พระราชวรมุนี, ดร[4]. (พล อาภากโร ป.ธ.๙, Ph.D.) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษา และมีการเสนอแต่งตั้งผู้บริหารสถาบันภาษาชุดใหม่ ดังนี้

                ๑) พระมหาราชัน  จิตฺตปาโล ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถาบันภาษาฝ่ายวิชาการ
                ๒) ดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ จากตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา เป็น
รองผู้อำนวยการสถาบันภาษาฝ่ายบริหาร
                ๓) พระวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ จากตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถาบันภาษา เป็น ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา
                ๔) พระมหาเจริญทรัพย์ ธนวุฑฺฒเมธี จากตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา เป็น ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา ต่อมาท่านมรณภาพ มหาวิทยาลัยจึงแต่งตั้งให้ นางสาวสุธิดา มีเพียร วิทยฐานะ ศศ.บ. (เศรษฐศาสตร์), ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์) ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัด ส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา เป็นผู้รักษาการผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษาและต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร

                ๓. ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ผศ.ดร. ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันภาษา  จึงได้มีการเสนอแต่งตั้งผู้บริหารสถาบันภาษา ดังนี้

                ๑) พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิคฺโต, ดร. ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป ส่วนงานบริหาร ศูนย์อาเซียนศึกษา ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถาบันภาษาฝ่ายวิชาการ ตามคำสั่งที่ ๕๗๑/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๒

                ๒) ดร.รุ่งโรจน์  ศิริพันธ์ ดำรงตำแหน่งเป็น รองผู้อำนวยการสถาบันภาษาฝ่ายบริหาร ตามคำสั่งที่ ๓๕๐/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

                โดยมีผู้อำนวยการส่วนงานทั้ง ๒ ส่วน คงเดิมคือ นางสาวสุธิดา มีเพียร ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา และพระวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา และต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูฐานานุกรมที่ พระครูปลัดวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ

                พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ผศ.ดร. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษา จนครบวาระ ๔ ปี (๒๕๖๒-๒๕๖๕) เป็นเหตุให้รองผู้อำนวยการสถาบันภาษาพ้นจากตำแหน่งไปด้วย


ยุคปัจจุบัน

                วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕  มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งให้พระมหาไพรัชน์ ธมฺมทีโป, ผศ.ดร. เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษา ตามคำสั่งที่ ๑๑๙๓/๒๕๖๕

                วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ มหาวิทยาลัยฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารสถาบันภาษา โดยให้ พระครูปลัดวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา ไปดำรงตำแหน่ง รักษาการรองผู้อำนวยการสถาบันภาษา และแต่งตั้งให้ ดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา

                วันพุธที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ สภามหาวิทยาลัยมีมติอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนสถาบันภาษา โดยมีพระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานกรรมการ ตามคำสั่งที่  ๒๔๓/๒๕๖๕ (๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕)

                วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการประจำสถาบันภาษา  โดยมีพระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานกรรมการ

                วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้พระมหาไพรัชน์ ธมฺมทีโป,รศ.ดร. เป็นผู้อำนวยการสถาบันภาษา รูปที่สี่ ตามคำสั่งที่ ๑๙/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖

                วันที่  ๑  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๖๖ นางสาวสุธิดา มีเพียร ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เลขที่  ๔๗๑๒๐๐๔  และผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา ได้รับอนุมัติให้ย้ายไปเป็นบุคลากร และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานวิชาการ สังกัด วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ และมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้ย้าย พระมหาสันติ ธีรภทฺโท, ดร. นักจัดการงานทั่วไป และเลขานุการสำนักงานคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย ไปดำรงตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เลขที่  ๔๗๑๒๐๐๔ แทน (ตามคำสั่งที่ ๗๐๘/๒๕๖๖ ลงวันที่  ๑๕  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๖๖) และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา   (ตามคำสั่งที่ ๕๙๓/๒๕๖๖ ลงวันที่  ๖  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๖๖) ทำให้สถาบันภาษามีคณะผู้บริหารในยุคปัจจุบัน ดังนี้

  • พระมหาไพรัชน์ ธมฺมทีโป, รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันภาษา
  • พระครูปลัดวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ, ดร. รักษาการรองผู้อำนวยการสถาบันภาษา
  • พระมหาสันติ ธีรภทฺโท, ดร. ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร สถาบันภาษา
  • ดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์  ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันภาษา
Scroll to Top